ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน เผยแนวโน้มธุรกิจหลังโควิด-19

ธุรกิจขนส่งสินค้าและสุขภาพ คาดฟื้นตัวไวส่วนธุรกิจสายการบินและอสังหาริมทรัพย์ยังเผชิญปัจจัยเสี่ยงที่รุมเร้า          

ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มีความรุนแรง ซึ่งส่งผลให้ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อสะสมสูงถึง 4.1 ล้านราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตมีมากกว่า 2.8 แสนราย ทำให้ทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF และองค์การการค้าโลก หรือ WTO คาดว่าเศรษฐกิจและการค้าโลกในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวร้อยละ-3.0 และ -12.9 (%yoy) ตามลำดับ โดยเฉพาะในประเทศที่มีการระบาดรุนแรงในระดับสูงมาก เช่นสหรัฐฯ และ ทวีปยุโรป อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายน 2563 เป็นต้นมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในหลายประเทศจะเริ่มส่งสัญญาณระดับความรุนแรงที่ลดลงบ้างแล้วก็ตาม ซึ่งประเทศดังกล่าวได้มีการเริ่มผ่อนคลายและลดความเข้มงวดของมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด แต่ก็ยังคงเป็นไปด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันและลดการเกิดการแพร่ระบาดรอบใหม่ หรือเช่นประเทศจีนที่เริ่มมีการแพร่ระบาดรอบใหม่ ก็ต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมเข้มงวดบางมาตรการใหม่อีกครั้งหนึ่งสำหรับประเทศไทย แม้ว่าสถานการณ์จะไม่รุนแรงมากนักเมื่อเทียบกับในอีกหลายประเทศ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจของไทยยังคงมีความรุนแรงและคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยและ IMF คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 อาจมีแนวโน้มหดตัวสูงถึงร้อยละ -5.3 และ -6.7 ตามลำดับ เนื่องจากประเทศไทยมีการพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าในระดับที่สูงมาก ระบบเศรษฐกิจจึงได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากปัจจัยภายนอกรุนแรง ทั้งจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป รวมถึงการส่งออกของไทยมีแนวโน้มหดตัวจากการชะลอตัว/หดตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญไม่ว่าจะเป็นอาเซียน (สัดส่วนส่งออก : 25.5%) สหรัฐฯ (สัดส่วนส่งออก : 12.8%) จีน (สัดส่วนส่งออก : 11.8%) ญี่ปุ่น (สัดส่วนส่งออก : 10.0%) และอียู (สัดส่วนส่งออก : 8.6%) เป็นต้น



นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยนอกจากจะได้รับผลกระทบจากรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออกที่หายไปแยังได้รับผลกระทบเพิ่มจากมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสของภาครัฐโดยเฉพาะการ Lockdown พื้นที่และหลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งแม้ว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและสามารถควบคุมการระบาดได้อย่างน่าพอใจ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะผลกระทบที่ต่อเนื่องถึงการจ้างงาน การอยู่รอดของกิจการ และการลดลงของกำลังซื้อของคนในประเทศ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวได้เกิดขึ้นเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจและกลุ่มธุรกิจใน Sector ต่างๆ เกือบทั้งหมดของประเทศ

แนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจหลังจบ COVID-19

ผลกระทบจากไวรัส COVID-19 แม้จะมีความรุนแรง แต่เมื่อวิกฤตการระบาดผ่านพ้นและหากสถานการณ์ทุกอย่างสามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ภายในครึ่งปีหลัง คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะมีการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะ U-Shape และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบคาดว่าจะทยอยฟื้นตัว แต่จะใช้เวลาในการฟื้นตัวมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะจำเพาะหรือโครงสร้างของแต่ละกลุ่มธุรกิจที่มีความแตกต่างกันออกไป รวมถึงความรุนแรงของผลกระทบที่ได้รับที่แตกต่างกัน ส่งผลให้บางกลุ่มธุรกิจอาจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่บางกลุ่มธุรกิจอาจต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นตัวนาน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ได้คาดการณ์แนวโน้มการฟื้นตัวของกลุ่มธุรกิจหลัง COVID-19 โดยพิจารณาและศึกษาจากผลกระทบที่ธุรกิจได้รับจากปัจจัยต่างๆ เช่น การชะลอตัว/หดตัวของภาคเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก รวมถึงผลกระทบจากการLockdown ประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจ โดยแต่ละธุรกิจล้วนได้รับผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวมากน้อยแตกต่างกันไปตามโครงสร้างของธุรกิจ ประเภทของธุรกิจ ความสามารถในการบริหารจัดการ ความแข็งแกร่งของธุรกิจด้านการเงิน เช่น เงินทุนหมุนเวียน/เงินสำรองของกิจการ ภาระหนี้สินของกิจการ ดังนั้น การฟื้นตัวของแต่ละธุรกิจจึงมีระยะเวลาที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งธุรกิจ ได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 

1.กลุ่มธุรกิจที่คาดว่ามีแนวโน้มการฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็ว (ภายใต้สมมติฐานเปิดประเทศภายในครึ่งปีหลัง และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศสามารถทำได้อย่างรวดเร็วธุรกิจการขนส่งสินค้าและโดยสารทั่วไป (ทางบกและทางน้ำ), ธุรกิจสื่อสารธุรกิจคลังสินค้าธุรกิจไปรษณีย์/การรับส่งของธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์อาหารธุรกิจสุขภาพ (การแพทย์และอนามัย), ธุรกิจขายปลีกสมัยใหม่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้นธุรกิจผลิตอุปกรณ์วิทยาศาสตร์/การแพทย์ธุรกิจผลิตอะไหล่รถยนต์/รถจักรยานยนต์ธุรกิจประกันสุขภาพ และธุรกิจการศึกษาออนไลน์ 

2.กลุ่มธุรกิจที่คาดว่ามีแนวโน้มการฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้ปานกลาง (ภายใต้สมมติฐานเปิดประเทศภายในครึ่งปีหลัง และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศสามารถทำได้อย่างรวดเร็วธุรกิจการขนส่งโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว (ทางบกและทางน้ำ), ธุรกิจโรงแรมตัวแทนธุรกิจเดินทาง/นำเที่ยวธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มธุรกิจบันเทิงธุรกิจขายส่งขายปลีกที่เป็นรายย่อยธุรกิจผลิตเครื่องดื่มธุรกิจผลิตกระเบื้อง/เครื่องปั้นดินเผา/ผลิตภัณฑ์แก้วธุรกิจผลิตเครื่องจักรธุรกิจผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจกระดาษธุรกิจเคมีภัณฑ์ธุรกิจเหล็กธุรกิจผลิตซีเมนต์/คอนกรีตธุรกิจประมงฯธุรกิจก่อสร้างสถาบันการเงินธุรกิจประกันภัย/ประกันอุบัติเหตุ และธุรกิจการศึกษา

3.กลุ่มธุรกิจที่คาดว่ามีแนวโน้มการฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้ช้า

ธุรกิจขนส่งทางอากาศ (สายการบิน), ธุรกิจผลิตเชื้อเพลิงธุรกิจรถยนต์ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม หากว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 สิ้นสุดลง และคาดว่าธุรกิจจะทยอยฟื้นตัวซึ่งอาจใช้ระยะเวลาฟื้นตัวและกลับมาดำเนินการที่แตกต่างกันไป  แต่คาดว่าจากเหตุการณ์นี้จะมีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดกิจการไปเนื่องจากอาจเป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีสภาพคล่องไม่เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงพนักงานและธุรกิจในช่วงที่มีปัญหาต่อเนื่องกันหลายเดือน หรืออาจเป็นธุรกิจที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนและความช่วยเหลือจากภาครัฐได้ค่อนข้างยาก ส่งผลให้ไม่สามารถก้าวผ่านวิกฤตในครั้งนี้ไปได้ นอกจากนี้จากการที่ประเทศพึ่งพารายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก ล้วนส่งผลให้การฟื้นตัวของธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศต้องขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักที่ไทยมีการส่งออก หรือเป็นประเทศหลักที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับประเทศไทย ซึ่งบทเรียน COVID-19 น่าจะเป็นสิ่งที่ส่งผลให้ธุรกิจควรต้องตระหนักถึงการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด อาทิ ไม่ควรหวังการพึ่งพารายได้จากภายนอกประเทศโดยเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่งมากจนเกินไป ควรมีการสำรองเงินทุนให้เพียงพออย่างน้อย 6 เดือนเพื่อเป็นสภาพคล่องยามฉุกเฉิน และไม่ควรมีภาระหนี้สินที่มากจนเกินไป รวมถึงสัดส่วนของรายได้ควรจะกระจายกลุ่มลูกค้าเพื่อลดความเสี่ยงให้กับกิจการทั้งนี้ ในระยะยาวธุรกิจควรต้องเตรียมปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง  ที่จะเกิดขึ้นในโลกของธุรกิจ รวมถึง New Normal ใหม่  ของสังคมที่จะทำให้บางธุรกิจถูกพลิกโฉมไปตลอดกาล อาทิ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตเพื่อลดต้นทุนค่าแรงงานในระยะยาว รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในด้านการค้า การตลาด การชำระค่าสินค้าและบริการ รวมถึงการนำเทคโนโลยี AR มาใช้เพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจค้าปลีกที่มี Platform Online หรือเป็น E-Commerce สามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถลองสินค้าผ่านภาพเสมือนจริงและตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น, การพัฒนาศักยภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ และควรเตรียมพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์กับความต้องการใหม่ๆ New Normal ใหม  ที่จะเน้นใช้งานสินค้าและบริการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มขึ้น และการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการค้าและการลงทุนของโลก หลังCovid-19 ที่หลายประเทลศคาดว่าจะลดความยาวของห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) ลง รวมถึงลดการพึ่งพิงการผลิตสินค้าหรือการนำเข้าจากประเทศใดประเทศหนึ่ง และหันไปกระจายการผลิต หรือนำเข้าสินค้าจากหลายๆ ประเทศแทน ตลอดจนอาจมีการลดการลงทุนทางตรง (FDI) จากการที่บริษัทข้ามชาติในหลายประเทศกลับไปผลิตที่ประเทศตนเอง ซึ่งจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่นRobotic, 3D printing, IoT ทำให้การผลิตทำได้โดยง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมากเหมือนในอดีต เพื่อลดความเสี่ยงจาก Supply Chain หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินและมีการปิดประเทศ” ดร.ชาติชาย กล่าว