“กสิกรไทย” จัดงาน EARTH JUMP 2024 กับแนวทางของประเทศไทยในการลดการปล่อยคาร์บอน

เพราะทุกๆ การปล่อยคาร์บอนมีต้นทุนที่ต้องจ่ายเสมอ มาตรการ Carbon Pricing จึงเป็นมาตรการที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในปัจจุบันและจะสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต 

โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน จำนวน 5 ท่าน ดังนี้

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กับคำถามที่ว่าทำไมประเทศไทยต้องมี Carbon Pricing

- ทุกประเทศต่างเร่งปรับตัวสู่การลดคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero) หากประเทศไทยยังไม่เข้าใจหรือตามไม่ทันกระแสโลกในประเด็นนี้ เราจะตกขบวนแน่นอน

- ไทยยังต้องตั้งเป้าหมายที่ปี 2065 (ไกลกว่าจีนที่ตั้งไว้ที่ปี 2060) เพื่อความเป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมาย การตั้งเป้าหมาย Net Zero จะช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น หากใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดได้ 100% ก็จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้ 

ภาษีคาร์บอน เริ่มเก็บจากตรงไหนดี? 

เสนอให้ประเทศไทยใช้ภาษีคาร์บอนเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีโครงสร้างการจัดเก็บอยู่แล้ว ทำให้ภาคธุรกิจวางแผนการลงทุนได้ง่ายกว่าเพราะรู้ต้นทุน และต่างประเทศยอมรับมากกว่า ในขณะที่ ETS จำเป็นต้องมีการสร้างตลาดรองขึ้นมาใหม่ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการคำนวณซื้อขายสิทธิข้ามประเทศ

- CBAM คือภาษีส่งออกคาร์บอนที่ EU เก็บจากโรงงานผลิตสินค้าส่งออก ปัจจุบันภาษีสรรพสามิตไทยเก็บได้บางประเภทสินค้าเท่านั้น หากต้องการขยายต้องแก้กฎหมาย

- ภาษีคาร์บอนพลังงานเก็บจากโรงงานไฟฟ้า ผู้ค้าน้ำมัน การใช้เชื้อเพลิง และที่ดิน นั้นเก็บง่ายเพราะผู้ประกอบการมีน้อยราย ควรเก็บเท่ากับ EU เพื่อไม่ต้องเสียเพิ่ม

- รัฐบาลควรนำภาษีเข้ากองทุนเพื่อให้ไทยปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ควบคู่กับยกเลิกอุดหนุนดีเซลเพื่อจูงใจให้ประหยัดพลังงาน ลดมลพิษและผลกระทบต่อสุขภาพ จากนั้นก็นำเงินมาช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบในด้านต่าง ๆ ผ่านการปฏิรูปพลังงาน 

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เล่าถึงมุมมองของภาครัฐ เรื่องการเก็บภาษีคาร์บอน

- มาตรการที่ดีที่สุดคือกลไกราคาคาร์บอนภาคบังคับเพราะจะทำให้ประเทศสามารถเข้าสู่เป้าหมาย Net Zero ได้เร็วมาก ปัจจุบันไทยใช้ Carbon Credit ภาคสมัครใจอยู่ และในส่วนของภาคบังคับอยู่ระหว่างร่างกฎหมาย

- ระหว่างนี้มีการตั้งกองทุน Climate Change ขึ้นมาก่อนเพื่อช่วยลดการปล่อยคาร์บอนของประเทศไทยให้เกิดได้เร็วขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์การเรียกเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต เช่น ธุรกิจยานยนต์ปัจจุบันเก็บตามปริมาณ CO2 ที่ปล่อย 

- กรมสรรพสามิตตั้ง Carbon Price มาคำนวณว่าน้ำมันต่างๆ จำนวน 1 ลิตร ปล่อย CO2 เท่าไร แล้วคูณราคาเข้าไป โดยมีผลในช่วงสิ้นปี 2024 

Roadmap กลไกราคาคาร์บอนของไทย ตลาดคาร์บอนภาคบังคับจะมีได้ในปี 2029 

- เฟส 1: 2024 สร้าง Awareness มีราคาคาร์บอนที่ชัดเจน

- เฟส 2: 2027-2028 เก็บภาษีจากผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ คือ เชื้อเพลิง

- เฟส 3: 2030 Conversion ขึ้นราคา ปรับพฤติกรรม 

คุณชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บอกเล่ามุมมองของผู้ประกอบการว่าต้องเตรียมตัวรับภาษีคาร์บอนอย่างไร

- อยากให้รัฐบาลมองภาพของการปล่อย CO2 ต่อหัว ซึ่งจะมองเห็นภาพรวมของการปล่อยคาร์บอนทั้งประเทศมากกว่าการเทียบต่อ GDP

- การปล่อยคาร์บอนเยอะที่สุด 70% มาจากการผลิต ดังนั้น ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยเรื่องนี้ เช่น การหาเทคโนโลยีที่ช่วยเก็บความร้อนเพื่อให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

- ปรับแนวทางการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะมาตรการในอนาคตจะมาพร้อมต้นทุนของธุรกิจที่สูงมากยิ่งขึ้น

- พลังงานทดแทนคือคำตอบของการปฏิรูปพลังงานในประเทศสู่ Carbon Neutrality 

- ASEAN ต้องรวมตัวกันเพราะจะช่วยให้มีความสามารถในการต่อรองกับสากลให้ดีมากยิ่งขึ้น

ดร.ชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่- การบริหารความยั่งยืน บมจ. ปูนซีเมนต์ไทยกับแนวทางการนำกองทุนไปใช้ในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่การเป็น Net Zero

สำหรับธุรกิจซีเมนต์ มี 3 เรื่อง ที่ส่งผลโดยตรง คือ 

1. นโยบายที่ต้องชัดเจนว่าจะไปในทิศทางไหน การใช้มาตรการ CBAM ที่ต้องมอง 2 ตลาด คือบ้านเราและตลาดที่ส่งไป ด้วยการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมว่าจะเป็น Carbon Tax หรือ ETS และต้องเก็บตามบริบทความเป็นจริงไม่มีการเก็บซ้ำซ้อน

2. Market Pressure ว่าลูกค้ามีความตระหนักรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงไหมและต้องมีการสนับสนุนส่งเสริมให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจและการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

3. การพัฒนาเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น เช่น เทคโนโลยีในการเก็บความร้อน การใช้ biomass ที่เป็นศักยภาพเฉพาะพื้นที่ของประเทศไทย ใช้พืชพลังงานเป็นเชื้อเพลิง หรือทาง SCG ยังมีการทำ PPP ในพื้นที่สระบุรี ทดลองใช้หญ้าเนเปียร์ เป็นพืชพลังงาน ทดลองโดยใช้ mechanism ของกระทรวงมหาดไทย คือจังหวัดสระบุรี มาทดลองเรื่องพลังงานทดแทน รวมถึง solar farm 

ไทยมีหวังจะไปถึง net zero จริงหรือไม่ จะไปถึงจุดนั้นเราต้องทำอะไรบ้าง

1. ต้องมีคนดูภาพรวมของประเทศ

2. CBAM ถ้าเรายังไม่ทำอะไรจะเสียโอกาสอย่างมาก

3. ไทยควรเริ่มต้นจากระบบเดียว คือ Carbon Tax หรือ ETS เพื่อป้องกันความสับสน

4. อย่าเก็บซ้ำซ้อน ควรเก็บที่จุดเดียวคือต้นน้ำ เช่น พลังงานและไฟฟ้า

5. ส่งเสริมการซื้อไฟตรง หากไม่ทำจะเสียโอกาสในการดึงดูดการลงทุนมหาศาล 

6. สนับสนุนโรงไฟฟ้าชีวมวล เพราะเปรียบเหมือนการยิงนัดเดียวได้นก 2 ตัว คือ ส่งเสริมเรื่อง Green และลดมลภาวะจากการเผา

#KBank  #EarthJump2024 #GoGreenTogether