ASIA PLUS เผยแผนธุรกิจและกลยุทธ์ปี 2567 ชู Wealth Management พร้อมรุกตลาดกองทุนรวม

       ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส จำกัด และประธานกรรมการ บริษัทที่ปรึกษา เอเชีย พลัส จำกัด เผยว่า เนื่องจากกลุ่มบริษัทเอเซียพลัส ให้ความสำคัญต่อนโยบายการพัฒนาธุรกิจด้วยกลยุทธ์ Diversification (การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้ให้กลุ่มบริษัท) ส่งผลให้กลุ่มบริษัทเอเชีย พลัส เป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจการเงินครบวงจรอย่างเต็มรูปแบบสำหรับปี 2567 กลุ่มบริษัทเอเซีย พลัส ได้กำหนดกลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนองค์กรในระยะ 3 ปี เพื่อใช้เป็นแนวทางให้ทุกหน่วยงานในองค์กรดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อสนับสนุนให้บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตในระยะยาว

.

กลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนองค์กรในระยะ 3 ปี (ปี 2567 - 2569) มี 4 แกนหลักที่สำคัญ ได้แก่ 1) Product & Value: มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการให้มีความหลากหลายและส่งมอบคุณค่าที่สร้างความพึงพอใจในระดับที่สูงสุด  2)Process & Customer Experience: โดยการนำเอาเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานและการบริการ  3) Brand Value & perception: มุ่งเน้นการสร้างแบรนด์ให้โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับโดยเฉพาะการปรับภาพลักษณ์บริษัทให้ทันสมัยและเหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยเฉพาะกลุ่มผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth)   4) People & Innovation: พัฒนาศักยภาพของบุคลากรโดยมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ในด้านผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ความเข้าใจลูกค้า และความรู้ในด้านดิจิทัล 


        สำหรับทิศทางการดำเนินงานและเป้าหมายการเติบโตที่แข็งแกร่งในแต่ละธุรกิจของกลุ่มบริษัทเอเซีย พลัส มีดังนี้  ธุรกิจด้านการลงทุน (บมจ.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์) วางกลยุทธ์ Increase Investment Capabilty เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับบริษัท ทั้งในแง่ของการขยายการลงทุนของบริษัทเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด ซึ่งบริษัทมีนโยบายการลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ หน่วยลงทุน ทั่วโลก รวมถึงการลงทุนหุ้นนอกตลาด และ 


ธุรกิจ Startup   ธุรกิจหลักทรัพย์ (บล.เอเชีย พลัส) ชูธุรกิจ Wealth Management เป็นหัวหอกในการเติบโตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ต่อยอดประสบการณ์ของบริษัทฯที่มีในธุรกิจ Wealth management มามากกว่า 17 ปี ซึ่งได้สั่งสมและเรียนรู้ความต้องการของนักลงทุนรายใหญ่ มาอย่างต่อเนื่องพร้อมรุกตลาดกองทุนรวมเพื่อสร้างฐานรายได้ที่มั่นคงสำหรับในอนาคต รวมทั้งยกระดับบริการ "นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ สู่การเป็น" ผู้ให้บริการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management)" โดยแนวทางดำเนินงานที่สำคัญๆ 


ธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สิน (บลจ.แอสเซท พลัส) วางกลยุทธ์มุ่งเน้นการออกผลิตภัณฑ์การลงทุนใหม่ๆ ที่มีความแตกต่างจากตลาดโดยรวมในกองทุนที่มีความหลากหลายในแต่ละประเทศ และในภาคอุตสาหกรรมที่เป็นที่นิยม ที่สำคัญ ที่สุดคือการส่งมอบผลการดำเนินงานของผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในระดับที่ดีถึงดีที่สุดในอุตสาหกรรม ถือเป็นเป้าหมายหมายหลักของธุรกิจกองทุนรวม ปัจจุบันกองทุนของ บลจ.แอสเซท พลัส ยังได้รับกระแสตอบรับที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทุนที่มีการลงทุนในตราสารทุนประเทศญี่ปุ่นอย่างกองทุน ASP-NGF ที่มีการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยมเป็นอันดับ 1 ในกองทุนประเภทเดียวกันในปี 2566 รวมถึงกองทุนอื่นๆ 


ธุรกิจที่ปรึกษา (บจก.ที่ปรึกษา เอเชีย พลัส) เป็นอีกบทบาทสำคัญของบริษัทที่เข้ามามีส่วนร่วมผลักดันการเติบโตทาง ธุรกิจที่มั่นคงให้แก่กลุ่มลูกค้าธุรกิจ (Corporate) ซึ่งมีทั้งการระดุมทุนรูปแบบ Private Placement การทำ Merger & Acquistion และการการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้ลูกค้าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายธุรกิจ


         คุณเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเชีย พลัส เผยว่า ในมุมมองทางปัจจัยพื้นฐาน ถือ ว่าตลาดหุ้นไทยอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างดี กล่าวคือ กำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2567 ฟื้นตัวต่อเนื่องโดยประเมิน EPs Growth ที่ราว 12% โดยที่บริษัทใน SET50 มากกว่าครึ่ง สามารถทำกำไรได้สูงกว่าระดับก่อน Covid-19 ระบาดแล้ว ใน มุมของ Valuation พบว่าค่า PER ณ สิ้นปี 2567 อยู่ที่บริเวณ 14 เท่า มีค่า PBV ที่ 1.34 เท่าซึ่งถือว่าอยู่ระดับต่ำมากเมื่อเทียบ กับอดีต ขณะที่หากพิจารณาระดับ Market Earning Yield Gap (ใช้กำไรคาดการณ์ปี 2567) อยู่ที่ 4% ซึ่งถือเป็น Valuation ที่ถูก และ เหมาะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว นอกจากนี้ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายก็ถือได้ว่าสิ้นสุดวัฏจักรขาขึ้นแล้ว และอยู่ในช่วงที่รอเวลาปรับลดลง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว ยิ่งจะทำให้ Market Earning Yield Ga ขยายตัวสูงขึ้นเพิ่มความน่าสนใจ ขึ้นตามลำดับ ขณะที่หากพิจารณาในมุมของเศรษฐกิจ มีโอกาสฟื้นตัวราว 3.5% - 4% แม้จะมีความล่าช้าของโครงการภาครัฐฯ อาทิ DIGITAL WALLET อย่างไรก็ตามภาพระยะยาว อาจเป็นแรงผลักดันผ่านนโยบายการคลัง แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ เพื่อเรียกความเชื่อมั่น พร้อมกับกระตุ้นเศรษฐกิจไทยที่เข้มข้นขึ้น

.

         อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่ทำให้ SET Index ปรับตัวขึ้นไปได้ยากในระยะสั้น ซึ่งเราเห็นว่าเป็นเพราะมูลค่าการซื้อขายที่ต่ำกว่า ที่ควรจะเป็น กล่าวคือ มูลค่าการซื้อขายที่เบาบางเฉลี่ย 4.5 หมื่นล้านบาท/วัน (YTD) คิดเป็น TURNOVER ราว 65% ต่อปี ซึ่งสาเหตุหลักมาจากเม็ดเงินต่างชาติที่ยังไหลออกจากตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงระดับความไม่มั่นใจของนักลงทุนที่มีต่อ SET Index โดยอาจจะมีสาเหตุได้หลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ความไม่เป็นเอกภาพของแนวนโยบายการเงิน และนโยบายการคลังของประเทศ, ความกังวลเรื่องตลาดตราสารหนี้ซึ่งในปี 2567 มีหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระจำนวนมากราว 8.8แสนล้านบาท และมีสัญญาณที่บางส่วนมีความเสี่ยงต่อการชำระคืน นอกจากนี้ยังมีความกังวลสงสัย ในรูปแบบการซื้อขาย ผ่าน Program Trading และ การทำ Short Sell ในหุ้นที่มีขนาดกลาง-ใหญ่ สภาวะดังกล่าว ทำให้ SET Index มีความผันผวนเพิ่มความเสี่ยงสำหรับการลงทุนในระยะสั้น

.

        กลยุทธ์ที่แนะนำ เป็นการให้สะสมหุ้น คุณภาพดีที่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ต่อเนื่อง เพื่อการลงทุนระยะยาว อาทิ AP, SPALI, ADVANC, PTTEP, TTB และหุ้นอ้างอิงกับการท่องเที่ยว AOT, BDMS หลังจากมีการเปิดฟรีวีซ่าไทยจีนถาวร ตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นไป ส่วนเป้าหมาย SET Index สิ้นปี 2567 เราประเมินว่าน่าจะอยู่ที่บริเวณ 1650-1670 จุด ภายใต้ MEYG ที่ระดับ 3.3% อิง P/E 17.24 เท่า และใช้ EPS67F 96 - 97 บาท/หุ้น


#ASIAPLUS #StockReview #BusinessLineandLife #กลยุทธ์ #ข่าวเศรษฐกิจ  #ข่าวประจำวัน