บางจาก มองธุรกิจเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืนมีโอกาสเติบโต ยุโรปออกกฎหมายบังคับเครื่องบินต้องเติม SAF ขั้นต่ำร้อยละ 2 และโรงงานหมื่นล้านพร้อมใช้งานต้นปี 68
คุณชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวในงาน Bangchak Group Greenovation ครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ “Regenerative Fuels: Sustainable Mobility” ถึงความสำคัญของแหล่งน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มเติบโตและมีความสำคัญต่อระบบขนส่งในโลก จากความต้องการใช้เชื้อเพลิงของโลกที่อยู่ในระดับสูงถึง 220 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะยังคงมีความต้องการการใช้เชื้อเพลิงเป็นอย่างมาก เชื้อเพลิงที่จะตอบโจทย์สำหรับการเดินทางและขนส่งอย่างยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ การใช้เชื้อเพลิงสังเคราะห์ Regenerative Fuels ซึ่งเป็นโมเลกุลสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuels) นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญคือ การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีที่จะช่วยบริหารจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Utilization and Storage - CCUS) เพื่อให้โลกอยู่กับเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สะอาดและยั่งยืนขึ้น จึงได้จัดงานครั้งนี้ภายใต้หัวข้อ อนาคตของโลกเรื่องการเดินทางอย่างยั่งยืน และเทคโนโลยีเชื้อเพลิงอนาคตที่จะตอบโจทย์สำหรับการเดินทางและขนส่งอย่างยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมแนะนำนวัตกรรมเชื้อเพลิงความยั่งยืนใหม่ “Clean molecules” เป็นนวัตกรรมการกลั่นเชื้อเพลิงมาใช้โดยไร้การปล่อยคาร์บอนนั่นเอง ทั้งนี้ ยังมีการบรรยายและให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนร่วมช่วยเหลือเรื่องเทคนิคพิเศษในการกลั่นและการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ Sustainable Aviation Fuel (SAF) ถึงขั้นตอนทางเลือกในการกลั่นจากแหล่งธรรมชาติที่หลากหลาย จากบริษัท Honneywell UOP รวมไปถึงวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิต่างประเทศจากองค์กรชั้นนำระดับโลก ทั้ง S&P Global Commodity Insights และ Axens Group มาร่วมอัพเดตประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเชื้อเพลิงอนาคตเพื่อตอบโจทย์การเดินทางอย่างยั่งยืนนอกจากนี้ คุณชัยวัฒน์ กล่าวถึงโรงงานกลั่นและผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน มูลค่าลงทุนหมื่นล้านบาท ว่าพร้อมเปิดใช้งานในช่วงต้นปี 2568 อีกด้วยซึ่งสำหรับภาคการบิน เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF เป็นทางเลือกพลังงานที่จะตอบโจทย์ภาคขนส่งอย่างยั่งยืน เมื่ออุตสาหกรรมการบินตั้งเป้าหมาย Net Zero ในปี ค.ศ. 2050 กลุ่มบริษัทบางจาก จึงได้บุกเบิกธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิง SAF จากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (Used Cooking Oil) โดยหน่วยผลิต SAF ที่โรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนง เป็นเชื้อเพลิงที่ภาคการบินทั่วโลกสามารถนำมาใช้ทดแทนได้ทันทีโดยไม่ส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์
คุณยงยุทธ ลุจินตานนท์ ผู้จัดการเขต สมาคมขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) กล่าวเสริมถึงข้อสำคัญที่ต้องตระหนักของสายการบินคือการควบคุมต้นทุนให้ได้ ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเชื้อเพลิงชนิด SAF นั้นราคาแพงมาก ประมาณ 3 - 5 เท่าของเชื้อเพลิงฟอสซิล เนื่องจากมีความต้องการในตลาดนั้นสูงมาก แต่กำลังการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการนั้นยังมีน้อยอยู่ ดังนั้น คาดว่าต้องรอกำลังผลิตที่มากขึ้นจึงจะสามารถดึงราคาให้ลดลงมาได้นั่นเอง
หม่อมหลวงณัฐสิทธิ์ ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BAFS กล่าวถึงทางยุโรปว่าได้ออกกฎหมายข้อบังคับการเติมเชื้อเพลิงความยั่งยืน (SAF) ขั้นต่ำร้อยละ 2 เมื่อเดินทางเข้าสนามบินใน 27 ประเทศของทางยุโรปอีกด้วย คาดว่าในอีกไม่นาน จะกลายเป็นข้อบังคับสากลในเร็วๆนี้
นอกจากนี้ จากมุมมองของผู้บริโภคที่ต้องการการรับรองความมั่นใจว่าเที่ยวบินเดินทางด้วยเชื้อเพลิงความยั่งยืน (SAF) แน่นอน โดยจะมีระบบ Book & Claim ที่กำลังอยู่ภายใต้การพัฒนาและปรึกษากันอยู่ ซึ่งผู้โดยสารสามารถนำเอกสารการเดินทางด้วยอากาศยานที่ใช้เชื้อเพลิงยั่งยืนมาเคลมเพื่อรับคาร์บอนเครดิตได้
#BCP #Bangchak #บางจาก #SAF #CleanMolecules
#BAFS #IATA
#StockReview #BusinessLineandLife #ข่าวธุรกิจ #ข่าวประจำวัน