ระบบรองรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท แบบไหนดี

“นโยบายการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ต้องดูจุดประสงค์ที่แท้จริงของโครงการว่าคืออะไร และการที่จะให้ประชาชนเข้าใจระบบเงินดิจิทัลขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบให้เข้าใจง่าย และควรนำของเก่าที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้”  ดร.ธรรมธีร์ สุกโชติรัตน์ (ดร.เรือบิน) ผู้อำนวยการสำนักโพลศรีปทุม-ดีโหวต ให้สัมภาษณ์ในรายการ บิสซิเนท ไลน์ แอนด์ ไลฟ์ ช่วง Special talk เมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา

นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ทำได้จริงหรือ

“มองออกเป็น 2 ด้าน คือ เชิงเทคนิค และเชิงเศรษฐศาสตร์ ทางด้านเชิงเทคนิคไม่มีปัญหา แต่มีเงื่อนไขค่อนข้างมาก หลายคนอาจมองว่านำระบบ Blockchain มาใช้กับโครงการนี้ แต่ระบบ Blockchain มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีของมันก็คือ ความโปร่งใส อะไรที่ต้องการความโปร่งใส ความชัดเจน ก็สามารถนำระบบ Blockchain เข้ามาใช้ ส่วนข้อเสียก็คือ ความเป็นส่วนตัว Blockchain จะเก็บข้อมูลที่เราเรียกว่า “โหนด” ถ้าเป็น Blockchain ที่เปิดเป็นสาธารณะ ถ้าใครเข้าถึง “โหนด” ได้ ก็จะเข้าถึงข้อมูลได้  และจำนวนธุรกรรมที่ทำได้ต่อวินาทีมันน้อยกว่าระบบทั่วไป ถือว่าเป็นจุดอ่อนของ Blockchain

เงินดิจิตอล 10,000 บาทใช้กับอะไรได้บ้าง

“ตามที่ทางรัฐบาลได้ประกาศออกมาเบื้องต้น สามารถใช้ได้กับสิ่งที่จำเป็น เป็นประโยชน์กับชีวิต แต่ไม่อนุญาตให้ใช้กับสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น ซื้อเหล้า เที่ยวผับ ส่วนวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น

1. การกระตุ้นเศรษฐกิจ

2. สามารถกระจายได้ทั่วถึงทุกคน โดยเฉพาะคนที่มีรายได้น้อยจะได้ประโยชน์กว่าคนที่มีรายได้มาก

3. ก่อให้เกิดการเติบโตเศรษฐกิจในระยะยาว

4. ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินหลายรอบ   ถ้าเงินหมุนเวียนหลายรอบจะช่วยให้รัฐบาลประหยัดเงินในการลงทุน สามารถเก็บภาษีได้

5. ช่วยปูทางให้คนไทยสามารถเข้าสู่โลกการเงินดิจิตอล

แต่ควรจะโฟกัสที่ 3 ข้อหลักใหญ่ ๆ นั่นก็คือ

1. กระตุ้นเศรษฐกิจในจุดที่จำเป็นต้องกระตุ้น เช่น ผู้ที่มีรายได้น้อย

2. การกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาว ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เช่น ภาคการท่องเที่ยว เป็นต้น

3. ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินหลายรอบ Blockchain อีกความสามารถของ Blockchain นั่นก็คือ Smart contact หรือ สัญญาอัจฉริยะ  โดยปกติการทำสัญญาทั่วไปจะเป็นรูปแบบของกระดาษ แต่สำหรับ Smart contact เปรียบเหมือนสัญญาอัตโนมัติ เช่น เรารับจ้างผลิตชิ้นงานมา 1 ชิ้น แล้วหากเราทำงานเสร็จแล้วอัพโหลดงานเข้าระบบ Smart contact ก็จะโอนเงินจากกระเป๋าตังของผู้ที่ว่าจ้างเข้าสู่กระเป๋าเงินของเราทันที ตรงนี้เป็นความสามารถที่นำมาใช้ให้ตรงกับจุดประสงค์ข้อที่ 2,3 ที่กล่าวไปข้างต้น เราสามารถสร้างเงื่อนไขว่าต้องการให้เงินนำไปใช้กับตรงส่วนไหนได้ โดยเฉพาะเรื่องการจัดเก็บภาษี


ระบบไหนที่เหมาะกับประชาชน

“การที่จะให้ประชาชนได้เข้าใจเงินระบบดิจิตอลนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบ ถ้าใช้แอบพลิเคชั่นที่เข้าใจง่าย  สามารถใช้การจับที่อยู่จาก GPS ของโทรศัพท์ว่า ณ ตอนนั้นเราอยู่ในพื้นที่ไหน  ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่ระบบ Blockchain แต่เป็นการใช้ GPS ซึ่งระบบจะดูว่าพื้นที่ตรงนั้นเราสามารถใช้จ่ายอะไรได้บ้าง มีร้านค้าอะไร ที่เราสามารถใช้กับแอบพลิเคชั่นของเงินดิจิตอลได้ ไม่ควรสร้างระบบใหม่ทั้งหมด ควรนำของเดิมที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ ภาครัฐได้มีการทำระบบ Blockchain ไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว อย่างธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีโครงการ CBDC อินทนนท์ และโครงการที่มีการทดสอบมาได้ประมาณ 1 ปีแล้ว ซึ่งโครงสร้างตรงนี้ได้มีการพัฒนาไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่แล้ว รัฐบาลต้องนำโครงสร้างระบบ Blockchainของทางธนาคารแห่งประเทศไทยมาเป็นพื้นฐานแล้วนำมาประยุกต์ปรับให้เข้ากับสถานการณ์หากในอนาคตสามารถทำ CBDC มาใช้จะสามารถเชื่อมโยงกับ Token หรือตั๋วคูปองในโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้อย่างไร้รอยต่อและใช้แอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ที่มีอยู่แล้ว มาต่อยอดเขียนระบบเสริมเข้าไป จะทำให้งบประมาณการพัฒนาน้อยลง”

ผลประโยชน์จะตกไปอยู่ที่ธุรกิจรายใหญ่มากกว่าหรือไม่

“อาจต้องมีการวางแผนสัดส่วนผลประโยชน์ควรไปอยู่ใน SME มากกว่า ซึ่งในทางเทคนิคสามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของนโยบายทางภาครัฐที่อาจจะกำหนดให้เฉพาะร้านค้าโชว์ห่วย ธุรกิจรายย่อยได้รับผลประโยชน์จริง ๆ เท่านั้น ซึ่งประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความสามารถในการออกแบบระบบเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่เป็นจำนวนมาก ทุกโครงการย่อมมีจุดรั่ว อยู่ที่เราจะออกแบบอย่างไรให้มีจุดรั่วน้อยที่สุด มีการตรวจสอบที่ดีที่สุด”