ก.ล.ต. แจงคดี STARK ล่าช้าเหตุคดีอาญาหลายขั้นตอน

ก.ล.ต. ล่าช้าคดี STARK คดีอาญาหลายขั้นตอนต้องใช้เวลารวบรวมหลักฐาน

นายธวัชชัย พิทยโสภณ รองเลขาธิการ และรักษาการเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ชี้แจงว่าตอนนี้ทาง ก.ล.ต.อยู่ในระหว่างการตรวจสอบพยานหลักฐานเพิ่มเติมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) คณะกรรมการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) รวมทั้ง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แต่ยังไม่สามารถระบุรายละเอียดขั้นตอนการสืบสวนได้แต่ก็เน้นย้ำการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อขยายผลการดำเนินคดีเพิ่มเติมกับผู้เกี่ยวข้องการทุจริต บมจ.สตาร์ค คอร์ปอเรชั่น (STARK) ทั้งเรื่องผู้สอบบัญชี การปั่นราคาหุ้น การเผยแพร่ข้อมูลเท็จ รวมทั้งการใช้ข้อมูลภายใน มั่นใจจากพยานหลักฐานสามารถดำเนินการได้ถึงที่สุด

ทั้งนี้ในการดำเนินคดีกับผู้สอบบัญชีนั้น มี 2 กรณีผู้สอบที่อยู่ภายใต้อำนาจ ก.ล.ต. และ ผู้สอบที่ทำงานให้ กลุ่มบริษัทที่อยู่นอกเหนืออำนาจ ก.ล.ต. นั่นเอง โดยหากพบว่ามีความผิดร่วมด้วยจะประสานงานกับสภาวิชาชีพเพื่อดำเนินการเอาผิดต่อไป 

คุณพัฒนพร ไตรพิพัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. ได้ตอบคำถามถึงความล่าช้าในการดำเนินคดีผู้กระทำความผิด ซึ่งสาเหตุที่ล่าช้า เนื่องจากการดำเนินคดีทางอาญาเป็นเรื่องที่ร้ายแรงจึงต้องใช้เวลาไปกับการรวบรวมหลักฐานที่แน่ชัดและแน่นอน และได้ชี้แจงข้อสงสัยเพิ่มเติมจากการดำเนินกล่าวโทษบุคคล รวม 10 ราย เป็นชุดแรก ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ให้ดำเนินคดีผู้กระทำความผิดทั้ง 10 ซึ่งประกอบด้วย (1) บริษัท STARK (2) นายชนินทร์ เย็นสุดใจ (3) นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ (4) นายชินวัฒน์ อัศวโภคี (5) นายศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ (6) นายกิตติศักดิ์ จิตต์ประเสริฐงาม (7) บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (PDITL) (8) บริษัท ไทย เคเบิ้ล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (TCI) (9) บริษัท อดิสรสงขลา จำกัด และ (10) บริษัท เอเชีย แปซิฟิก ดริลลิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (บ.เอเชีย) โดยมูลค่าเสียหายทั้งหมดที่พบในการปลอมแปลงงบการเงิน ยอดหนี้ประมาณ 38,000 ล้านบาท

โดยจากการดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดในมาตราที่ 267 สั่งห้ามมิให้ผู้กระทำผิดออกนอกราชอาณาจักรไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว มีกำหนด 15 วัน และมีการอายัดทรัพย์ 180 วัน โดยสามารถยื่นขอได้อีกครั้งหากยังไม่สามารถดำเนินคดีเสร็จสมบูรณ์ มีการชี้แจงถึงกรณีแม้ถึงถูกอายัดทรัพย์ แต่กิจการสามารถดำเนินต่อไปและมีการจ่ายเงินเดือนอย่างปกติ ทาง ก.ล.ต. เองก็พยายามเลี่ยงไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทั้งคู่ค้าและพนักงาน 

กล่าวถึงการโทษทางคดีอาญา ที่ผู้กระทำความผิด จำคุก 10 ปีต่อความผิด (กระทง) โดยโทษแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับจำนวนกระทงความผิด หากความผิดกระทงมากก็จะไปรวบยอดภายหลัง มูลค่าเสียหายยังไม่เปิดเผย หลักฐานยังรวบรวมไม่ครบ และในสัดส่วนรับผิดชอบความเสียหายผู้กระทำความผิดทั้ง 10 ต้องแบ่งกันรับผิดชอบ

คำถามจากนักข่าวสามารถปรับข้ามขั้นตอนหมายเรียกเป็นหมายจับไปเลยเพื่อเร่งรัดให้เร็วยิ่งขึ้นได้มั้ยและทางผู้กระทำความผิดที่หนีคดีจะดำเนินการอย่างไร โดยทาง ก.ล.ต. แจงว่าขั้นตอนนี้ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กระทรวงยุติธรรม ในการดำเนินงาน

คุณเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ ก.ล.ต. ก็ช่วยยืนยันศักยภาพการทำงานทางกฎหมายของทาง ก.ล.ต. ซึ่งเป็นทีมเดียวกันที่ดำเนินการทางกฎหมายในกรณีของหุ้น MORE นั่นเอง ต้องรอการดำเนินการทางกฎหมายที่ต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลหลักฐานก่อนที่จะดำเนินคดีทางอาญาได้


#STARK #SEC #กลต