ก.ล.ต. กล่าวโทษบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (STARK)กรรมการ อดีตกรรมการและอดีตผู้บริหารของ STARK รวม 10 ราย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีร่วมกันกระทำหรือยินยอมให้มีการลงข้อความเท็จในบัญชีเอกสารของ STARK และบริษัทย่อย ในช่วงปี 2564 – 2565 เพื่อลวงบุคคลใด ๆ และเปิดเผยงบการเงินในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้และร่างหนังสือชี้ชวนที่เชื่อได้ว่ามีการตกแต่งงบ รวมทั้งปกปิดความจริงในข้อมูล factsheet เสนอขายหุ้นกู้ STARK ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยทุจริตหลอกลวง และทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากประชาชนผู้ถูกหลอกลวงพร้อมกันนี้ได้ส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
(6) นายกิตติศักดิ์ จิตต์ประเสริฐงาม (7) บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (PDITL)
(8) บริษัท ไทย เคเบิ้ล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (TCI) (9) บริษัท อดิสรสงขลา จำกัด และ (10) บริษัท เอเชีย แปซิฟิก ดริลลิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
เข้าลงทุนในกิจการดังกล่าวไม่เสร็จเรียบร้อย ทั้งนี้ ปรากฏว่าหลังจากที่ STARK ได้รับเงินหุ้นกู้และเงินเพิ่มทุน พบการโอนเงินออกจาก STARK และบริษัทย่อยไปยังบริษัทหรือบุคคลอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับการตกแต่งงบการเงินด้วย
การกระทำของบุคคลรวม 10 รายข้างต้น เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 312 และมาตรา 281/2 วรรค 2 ประกอบมาตรา 89/7 และมาตรา 89/7 ประกอบมาตรา 89/24 มาตรา 278 มาตรา 281/10 ประกอบมาตรา 300 มาตรา 306 และมาตรา 315 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (แล้วแต่กรณี) ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษบุคคลทั้ง 10ราย ต่อ DSI เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ยังได้แจ้งการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ข้างต้น ต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
นอกจากกรณีที่กล่าวโทษในครั้งนี้ ก.ล.ต. ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบขยายผลไปยังกรณีอื่น ๆ ที่มีข้อสงสัยในเรื่องการทุจริต โดยจะประสานความร่วมมือกับ DSI ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จ จะมีการเปิดเผยให้ทราบต่อไป
ในการตรวจสอบเรื่องนี้ ก.ล.ต. ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ปปง. DSI และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี
อนึ่ง การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นขั้นตอนในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ตลอดจนดุลพินิจของศาลยุติธรรม ตามลำดับ