ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้กระทำความผิด 32 ราย ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กรณีสร้างราคาหรือปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) (MORE) และรายงานการดำเนินการต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
(10) นายวสันต์ จาวลา (11) Mr. Shubhodeep Prasanta Das (12) นายประยูร อัสสกาญจน์ (13) นางสาวจิระวรรณ ไชยพงศ์ผาติ (14) นางสาวสุร์ศิริ ปรีดาสุทธิจิตต์ (15) นางสาวปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (16) นางสาวอัยลดา ชินวัฒน์
(17) นายอมฤทธิ์ กล่อมจิตเจริญ (18) นายมั่นคง เสถียรถิระกุล (19) นางสาวอรเก้า ไกยสิทธิ์ (20) นายเกรียงศักดิ์
วงศ์โอสถพานิช (21) นางสาวสิริรัตน์ สมณาศรี (22) นายธีรพงศ์ ด่านวณิชวงศ์ (23) นายวิศรุต เจียมจิตพลชัย
(24) นายปรณัฐ นุชาชาติพงศ์ (25) นายภูดิท สุจริตกุล (26) นายวัชรินทร์ ยังให้ผล (27) นายธนยุทธ ฤกษ์รักษา
(28) นายธรรมนูญ เวชวิทยาขลัง (29) นายภัทร ฉัตรเจริญสุข (30) นายชยพล พันธุ์แพ (31) นายพิเชษฐ์ ผลสุวรรณชัย และ (32) นางศศินภา วราพร ได้ร่วมกันกระทำการสร้างราคาหรือปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ MORE ในช่วงระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 – 10 พฤศจิกายน 2565
ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างกันทั้งด้านความสัมพันธ์ส่วนตัว ทางเงิน การซื้อขายหลักทรัพย์ รวมถึงช่องทางและสถานที่ในการส่งคำสั่งซื้อขาย ได้แบ่งหน้าที่กันหรือตกลงร่วมกันในการส่งคำสั่งซื้อขายในลักษณะที่ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ รวมทั้งส่งคำสั่งซื้อขายในลักษณะต่อเนื่องกันโดยมุ่งหมายให้ราคาหรือปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ MOREผิดไปจากสภาพปกติของตลาดอันเข้าข่ายเป็นฝ่าฝืนมาตรา 244/3 (1) และ (2) ประกอบมาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 (แล้วแต่กรณี) แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ โดยผลประโยชน์ที่กลุ่มผู้กระทำความผิดทั้งหมดได้รับหรือพึงได้รับคิดเป็นมูลค่าประมาณ 800 ล้านบาท ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษบุคคลทั้ง 32 ราย ต่อ บก.ปอศ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป
พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ได้รายงานการดำเนินการดังกล่าวต่อ ปปง. เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ทั้งนี้ การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นขั้นตอนในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ตลอดจนดุลพินิจของศาลยุติธรรม ตามลำดับ
ในกรณีนี้ ก.ล.ต. ได้รับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตรวจสอบเพิ่มเติมโดยประสานความร่วมมือกับ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) โดย บก.ปอศ. ในการตรวจสอบรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายในการทำงานเชิงรุกร่วมกันในการสืบสวนและตรวจสอบการกระทำผิดเกี่ยวกับตลาดทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย