ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ประกาศคะแนนประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ปี 2565 ตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ State Enterprise Assessment Model (SE-AM) โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1. การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 2. การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ 3. การบริหารจัดการองค์กรทั้ง 8 ด้าน (Core Business Enablers) ซึ่ง EXIM BANK มีผลการดำเนินงานด้านยุทธศาสตร์ที่โดดเด่น ได้รับคะแนนเต็ม 5.0000 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และมีคะแนนรวมอยู่ที่ 4.3898 สูงเป็นลำดับที่ 6 จากรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 51 แห่ง
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ความสำเร็จในครั้งนี้เป็
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย EXIM BANK ยังคงดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนและสร้างรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศไทยภายใต้บทบาท“ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย“ ที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ส่งเสริมการบุกตลาดการค้าการลงทุนที่มีศักยภาพ สนับสนุนธุรกิจไทยให้เติบโตในตลาด CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และ New Frontiers รวมทั้งยกระดับสินค้าและบริการของไทยให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยทุกระดับพร้อมที่จะเข้าสู่ Supply Chain การส่งออก การพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจใหม่ที่มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมสานพลังพันธมิตรทุกภาคส่วนเดินหน้าสร้างระบบนิเวศสีเขียว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการเสริมอาวุธให้ SMEs เป็นนักรบเศรษฐกิจได้อย่างแข็งแกร่งด้วยการสนับสนุนแบบครบวงจร เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม เพื่อสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล จนได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย อาทิ รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า (Thailand Quality Class Plus : Customer) ประจำปี 2565
“EXIM BANK กล้าที่จะปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีบทบาทมากขึ้นต่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยยึดมั่นในเป้าหมายที่จะตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เราจึงสร้างคนและทีมที่แข็งแกร่งที่จะทำหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเทไปสู่เป้าหมายขององค์กรที่ปรับตัวและรับมือได้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานรากในชุมชนให้เชื่อมโยงกับ Supply Chain ของโลกได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” ดร.รักษ์ กล่าว