TTA รายงานผลกำไรสุทธิ 215.0 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1/2566


 

• กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือมีอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่า (TCE) เฉลี่ยสูงกว่าอัตราค่าระวางเรือ                                  ซุปราแมกซ์สุทธิเฉลี่ยถึงร้อยละ 42
• กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่งมีมูลค่าสัญญาให้บริการที่รอส่งมอบแข็งแกร่งอยู่ที่ 320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
• ฐานะการเงินแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องด้วยเงินสดภายใต้การบริหาร จำนวน 11.9 พันล้านบาท 

 

กรุงเทพฯ 15 พฤษภาคม 2566 – บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลกำไรสุทธิ ในไตรมาสที่ 1/2566 จำนวน 215.0ล้านบาท แม้จะประสบกับภาวะอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าลดลงและรายได้จากการขายปุ๋ยของกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตรลดลง

ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือ กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร        กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มการลงทุนอื่น มีสัดส่วนรายได้ ร้อยละ 44 ร้อยละ 31 ร้อยละ ร้อยละ 10 และร้อยละ ของรายได้รวมทั้งหมด ตามลำดับ และมีกำไรขั้นต้น 1,093.9 ล้านบาท

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 TTA มีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 43,466.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,873.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 5 จากสิ้นปี 2565 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด สินทรัพย์ทางการเงินหมุนเวียนอื่น สินทรัพย์ดิจิทัล และที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

TTA ยังคงมีฐานะการเงินแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องด้วยเงินสดภายใต้การบริหาร จำนวน 11.9พันล้านบาท นอกจากนี้ โครงสร้างเงินทุนยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งเห็นได้จากอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับต่ำที่ 0.44 เท่า ณ สิ้นไตรมาส

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA กล่าวว่า   

แม้ว่าค่าระวางเรือได้ปรับตัวลงจากปัจจัยตามฤดูกาลในไตรมาสที่ 1/2566 แต่โทรีเซน ชิปปิ้ง มีอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าเฉลี่ย 13,718ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ซึ่งสูงกว่าอัตราค่าระวางเรือซุปราแมกซ์สุทธิที่ 9,662 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน อยู่ร้อยละ 42 และเรายังคงเชื่อว่าอุตสาหกรรมสินค้าแห้งเทกองจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในไตรมาสที่สอง

ขณะที่เมอร์เมด มารไทม์ ยังคงให้ความสำคัญกับการขยายบริการวิศวกรรมนอกชายฝั่งในพื้นที่ที่กำลังเป็นที่ต้องการ และก็ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น การได้ทำสัญญาโครงการรื้อถอนหลุมผลิตปิโตรเลียม สัญญาโครงการปิดและรื้อถอนหลุมขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และสัญญาโครงการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างในกิจกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในแถบอ่าวไทยและทะเลเหนือ เราคาดว่าในปีนี้ภาคธุรกิจบริการนอกชายฝั่งจะได้รับอานิสงส์จากการลงทุนในการสำรวจและผลิตน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งก่อนหน้านี้ Rystad Energy ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยอิสระด้านพลังงานและมีสำนักงานใหญอยู่ที่ออสโล ได้รายงานว่า การใช้จ่ายขอแถบตะวันออกกลางในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง (O&G) จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อยในอีก 3 ปีข้างหน้าจาก 33 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566 เป็น 41 พันล้านดอลลาร์ในปี 2568

 

สำหรับในไตรมาสที่ 1/2566 PMTA ประสบปัญหายอดขายปุ๋ยในประเทศลดลง เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลเพาะปลูกและเป็นช่วงที่ราคาปุ๋ยปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าอุปสงค์ปุ๋ยในประเทศเวียดนามจะฟื้นตัวในไตรมาสที่ หากสภาพการเกษตรในปัจจุบันยังคงเหมือนเดิม ทั้งนี้ PMTA วางกลยุทธ์ที่จะแนะนำผลิตภัณฑ์พิเศษและสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าเป้าหมายเพื่อขยายตลาดส่งออกในประเทศแถบแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ผลการดำเนินงานของแต่ละธุรกิจ 

กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือ : ในไตรมาสที่ 1/2566ดัชนีซุปราแมกซ์ (BSI) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 925 จุด เนื่องจากแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในจีน รวมถึงผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน และการบรรเทาความแออัดของท่าเรือด้วย โดยอัตราค่าระวางเรือซุปราแมกซ์ทำสถิติสูงสุดที่ 14,703 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ในช่วงปลายเดือนมีนาคม และมีค่าเฉลี่ย 10,171ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ในไตรมาส 1/2566 สำหรับแนวโน้มปี 2566 มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน จากบทวิเคราะห์ของ Clarksonsคาดการณ์การเติบโตของการค้าสินค้าแห้งเทกองที่ร้อยละ 1.8 ในหน่วยตันหรือร้อยละ 2.5ในหน่วยตัน-ไมล์ ขณะที่การขยายกองเรือจะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 2.4 ในหน่วยเดทเวทตัน (DWT)

 

ในไตรมาสที่ 1/2566 รายได้ค่าระวางของโทรีเซน ชิปปิ้ง อยู่ที่ 2,077.3 ล้านบาท ปรับตัวลดลง ร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากค่าระวางเรือของตลาดที่ปรับตัวลดลงจากค่าระวางเรือที่สูงเป็นพิเศษในปี 2565 และลดลงร้อยละ 31 จากไตรมาสก่อนเนื่องจากค่าระวางเรือที่ปรับตัวลงจากปัจจัยตามฤดูกาล อย่างไรก็ตาม   โทรีเซน ชิปปิ้ง มีอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าเฉลี่ย 13,718ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน สูงกว่าอัตราค่าระวางเรือซุปราแมกซ์สุทธิ อยู่ร้อยละ 42 ในไตรมาสที่ 1/2566 นอกจากนี้ ยังมีอัตราการใช้ประโยชน์เรือสูงอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 100 และมีอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าสูงสุดอยู่ที่ 27,250 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน

โดยสรุป โทรีเซน ชิปปิ้ง รายงานผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของ TTA จำนวน 421.3 ล้านบาท ลดลง ในไตรมาสที่ 1/2566 โดย ณ สิ้นไตรมาส โทรีเซน ชิปปิ้ง เป็นเจ้าของเรือ จำนวน 24 ลำ (เรือซุปราแมกซ์ จำนวน 22 ลำ และเรืออัลตราแมกซ์ จำนวน 2 ลำ) มีระวางบรรทุกเฉลี่ยเท่ากับ 55,913 เดทเวทตัน (DWT) และมีอายุเฉลี่ย 15.0 ปี 

 

กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง : บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) หรือ เมอร์เมดฯ มีรายได้ อยู่ที่ 1,479.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของงานวิศวกรรมใต้ทะเล (subsea-IRM) และงานวางสายเคเบิลใต้ทะเล ในขณะที่อัตราการใช้ประโยชน์ของเรือวิศวกรรมใต้ทะเลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 46 ในไตรมาสที่ 1/2565 เป็นร้อยละ 97 ในไตรมาสที่ 1/2566 ขณะที่กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น    ร้อยละ 320และ EBITDA อยู่ที่ 50.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 131 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  

โดยสรุป เมอร์เมดฯ มีผลขาดทุนสุทธิ จำนวน 166.1 ล้านบาท และผลขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของ TTA จำนวน 96.1 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1/2566 ซึ่งปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 37 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่าสัญญาให้บริการรอส่งมอบที่แข็งแกร่ง จำนวน 320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นไตรมาส 1/2566

 

กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร : ในช่วงนอกฤดูกาลเพาะปลูกในไตรมาสที่ 1/2566 รายได้ของบริษัท พีเอ็ม  โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PMTA อยู่ที่ 411.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้จากการขายปุ๋ย และผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อการเกษตรอื่นๆ ที่ลดลง โดยปริมาณขายปุ๋ยรวมอยู่ที่ 14.1พันตัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 47 ซึ่งมีสาเหตุมาจากการชะลอคำสั่งซื้อของผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีกในประเทศเวียดนาม อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการปุ๋ยของผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีกจะมีการปรับตัวดึขึ้น จากการกลับมาเพิ่มสินค้าคงคลังสำหรับฤดูกาลเพาะปลูกในไตรมาสที่ 2 ในส่วนของปริมาณส่งออกปุ๋ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เป็น 3.4 พันตัน เนื่องจากปริมาณการส่งออกปุ๋ยไปยังประเทศแอฟริกามีการขยายตัว  

รายได้จากการให้บริการจัดการพื้นที่โรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากไตรมาสก่อน เป็น 28.7 ล้านบาท เนื่องจากการขยายอาคารคลังสินค้าขนาด 10,000 ตารางเมตร และความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น 

โดยสรุป PMTA รายงานผลขาดทุนสุทธิที่ 38.8ล้านบาท และผลขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของ TTA จำนวน 26.6 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1/2566

 

กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) :

พิซซ่า ฮัท ดำเนินงานภายใต้บริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 70 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566พิซซ่า ฮัท มีสาขาทั้งหมด 191 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งสาขาทั้งหมดที่เปิดใหม่เป็นสาขาที่เปิดตามหัวเมืองใหญ่ ในขณะที่ ทาโก้ เบลล์ เป็นแฟรนไชส์อาหารเม็กซิกันสไตล์ที่มีชื่อเสียงชั้นนำระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา ดำเนินงานภายใต้บริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 70 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 ทาโก้ เบลล์ มีสาขาทั้งหมด 14สาขาทั่วประเทศ

 

กลุ่มการลงทุนอื่น (Investment) มุ่งเน้นธุรกิจการบริหารทรัพยากรน้ำและโลจิสติกส์ 

บริษัท เอเชีย อินฟราสตรักเชอร์ แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ AIM ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ TTA   ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 89.40 เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง และให้บริการครบวงจรทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ AIM ยังได้รับสัมปทานในการจำหน่ายน้ำประปาในหลวงพระบาง ประเทศลาว ผ่านบริษัทย่อยที่ AIM ถือหุ้นอยู่ ร้อยละ 100