มาทำความรู้จักธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า

ในยุคที่การซื้อขายสินค้าออนไลน์เป็นที่นิยม ทำให้มีอาชีพใหม่และกิจการเกิดขึ้นมากมายที่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการรับหิ้วสินค้าหรือพรีออเดอร์สินค้าจากต่างประเทศ ทำให้เกิดธุรกิจที่เรียกว่า Shipping เกิดขึ้น บทความนี้เราจะขอเล่าถึงธุรกิจ Shipping คืออะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่เป็นตัวหลักสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่สั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขาย

Shipping คืออะไร?

     ชิปปิ้งคือตัวแทนผู้นำเข้าส่งออกที่คอยอำนวยความสะดวกในการดำเนินการด้านเอกสาร โดยดำเนินการจัดเตรียมเอกสารและเดินเรื่องกับกรมศุลกากร เปรียบเสมือนคนกลางที่เป็นฝ่ายติดต่อไปยังกรมศุลกากรในการยื่นใบขนส่งสินค้าจากประเทศต้นทางไปยังประเทศปลายทาง และบริษัทเรือเดินทะเลหรือบริษัทขนส่งทางเครื่องบิน เพื่อนำสินค้านำเข้า หรือส่งออกไปต่างประเทศรวมถึงการจัดหาไปรับสินค้าจากโกดังลูกค้า นำไปเข้าตู้และรถหัวลากตู้ฯ ไปถึงท่าเรือ Shipping คือ บริษัทที่มีเรือเดินทะเลเป็นของตนเอง รวมถึงตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ส่งออกว่ามีปริมาณสินค้าปริมาณเท่าไรจะเช่าเป็นตู้ หรือจะรวมกับสินค้าผู้ส่งออกรายอื่นในตู้ใดตู้หนึ่ง

หน้าที่ของชิปปิ้งมีอะไรบ้าง

    -  หลังจากที่ได้รับออเดอร์จากลูกค้า ชิปปิ้งจะทำการตรวจสอบเอกสารและจัดทำใบขนส่งสินค้าและเอกสารยื่นกรมศุลกากร

    -  จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการยื่นให้กับกรมศุลกากรเพื่อส่งออกสินค้าไปยังประเทศปลายทาง ตัวอย่างเอกสารที่ใช้ยื่นกับกรมศุลกากร เช่น ใบสั่งซื้อสินค้าเป็นเอกสารสำคัญเพราะใช้เพื่อเปิดออเดอร์สำหรับการสั่งซื้อ, ใบเรียกเก็บเงินหรือเอกสารที่บอกรายละเอียดราคาสินค้า, รายการบรรจุสินค้า

    - นำเอกสารไปยื่นกับกรมศุลกากร

    - บริการรับจัดการบรรจุหีบห่อจากนั้นนำส่งสินค้าให้กับลูกค้าปลายทาง

Freight Forwarder คืออะไร?

            หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นหรือได้ยินหรือรู้จักธุรกิจนี้ Freight Forwarder ก็คือ ธุรกิจบริการประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นธุระแทนผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ในเรื่องตั้งแต่การจองระวางเรือ การบรรจุสินค้า การขนส่ง การดำเนินพิธีการขาเข้า และขาออก การจัดการเกี่ยวกับเอกสารส่งออกและนำเข้า เป็นต้น กล่าวโดยสรุป Freight Forwarder ก็คือ บริษัทที่ให้บริการแก่ลูกค้าที่มากกว่าการผ่านพิธีการศุลกากร

หน้าที่ของ Freight Forwarder  มีอะไรบ้าง

    -  เป็นตัวแทนออกของให้กับผู้ส่งและผู้รับสินค้า

    -  เป็นตัวแทนในการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า

    -  เป็นผู้ขนส่งสินค้าทั้งทางเครื่องบิน ทางเรือ และทางรถไฟ

    - บริการรับจัดการการบรรจุสินค้า

    - ให้บริการโรงพักสินค้า อาจจะเป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการเอง หรือร่วมกับผู้ประกอบการอื่นที่มีโรงพักสินค้าไว้บริการ

    -     ให้บริการทางด้านแรงงาน คนงาน ในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์

    -  ให้บริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

    - ให้บริการในการบริหารโลจิสติกส์ หรือการกระจายสินค้า

    -   ให้บริการในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้า

Shipping” กับ Freight Forwarder” ต่างกับอย่างไร?

            Freight Forwarder หมายถึง ตัวแทน/ตัวกลาง ระหว่างผู้ส่งออก-ผู้นำเข้า-สายเรือ/สายการบิน รับผิดชอบจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ไม่มีเรือหรือเครืองบินเป็นของตัวเอง เปรียบเสมือนคนกลางที่เข้าช่วยทำงาน ช่วยติดต่อประสานงานให้ผู้นำเข้า-ส่งออกได้รับความสะดวกสบาย ส่วน Shipping  จะทำหน้าที่เหมือนกับ Freight Forwarder แต่ Shippingบริษัทที่มีเรือเดินทะเลเป็นของตนเอง รวมถึงตู้คอนเทนเนอร์