จากกระแสผู้บริโภคในปัจจุบันหันมาสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น โปรตีนทางเลือกจากแมลงจึงได้ถูกกล่าวถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในฐานะอาหารสำหรับคนรุ่นใหม่ที่รักสุขภาพ ทดแทนเนื้อสัตว์ ที่ผ่านมาแมลงกลายเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมบริโภคมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เห็นได้จากการเติบโตของตัวเลขอุตสาหกรรมแมลงที่เพิ่มขึ้นถึงปีละ 20% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันทั่วโลกมีการบริโภคแมลงอยู่แล้วกว่า
2,000 ล้านคน และมีแมลงมากถึง 1,900 สายพันธ์
เนื่องจากเป็นโปรตีนทางเลือกที่อุดมไปด้วยสารอาหารและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ โดยรูปแบบที่บริโภค จะมีทั้งแบบผง แป้ง
ผลิตภัณฑ์ในรูปมืออาหาร น้ำมัน และการรับประทานเป็นตัว ส่วนแมลงที่นิยมนำไปผลิตเป็นโปรตีนทางเลือก
ได้แก่ จิ้งหรีด หนอน แมลงวันลาย หนอนนก หนอนควาย ตั้กแตน มด หนอนไหม จั้กจั่น คาดว่าผลิตภัณฑ์ในรูปผงจะขยายตัวมากกว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
เพราะการออกกำลังกายมีมากขึ้น ทำให้ต้องการโปรตีนแบบผง ซึ่งผลิตภัณฑ์จากจิ้งหรีดจะมีสัดส่วนมากที่สุด
เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ
“อาหารจากแมลงมีการเติบโตและขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่ามีมูลค่าตลาดรวมทั่วโลกถึง 340 ล้านเดอลลาร์ หรือ 1.15 หมื่นล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 25% โดยไทยเป็นตลาดส่งออกสินค้าแมลงมีชีวิตอันดับที่ 17 ของโลก มีการส่งออกแมลงราว 500-600 ตันต่อปี มูลค่า 2,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% ส่วนใหญ่ส่งออกในรูปวัตถุดิบ เช่น แช่แข็ง แป้ง ส่วนการแปรรูปจะอยู่ในรูปแมลงกระป๋อง”
“โอกาสในการทำตลาดของผลิตภัณฑ์แมลงของไทยในสหรัฐฯ ควรได้รับการพัฒนาในด้านการผลิตให้เกิดความหลากหลายรูปแบบเป็นสินค้าอาหาร เช่น การนำเสนอเป็นอาหารสำเร็จรูป เป็นของทานเล่น (Snack) หรือโปรตีนบาร์ ควรเลี่ยงการทอดแมลง แต่หันไปใช้วิธีอบแห้ง (Dehydration)”
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้เปรียบกว่าประเทศคู่แข่ง ด้วยสภาพอากาศที่เป็นเขตร้อนชื้น เหมาะสำหรับทำฟาร์มเพาะเลี้ยงแมลงส่งออก โดยแมลงที่ได้รับความนิยมในการเพาะพันธ์ได้แก่ จิ้งหรีด, ตั๊กแตน, แมงป่อง, ดักแด้, หนอนรถด่วน, ถือเป็นโอกาสสำคัญทางเศรษฐกิจไทยในการส่งออกแมลง เป็นสินค้าส่งออกที่อนาคตสดใส สร้างรายได้ให้กับประเทศ